4 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน

เป็นสิวเรื้อรัง…รักษาเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น​

ดีขึ้นช่วงแรกๆ แต่พอหยุดการรักษา ก็กลับมาเป็นซ้ำอีก เปลี่ยนครีมเปลี่ยนเครื่องสำอาง หมดเงินเป็นหมื่น สิวก็ไม่เห็นจะดีขึ้นเลย

คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับสิวฮอร์โมน สิวฮอร์โมนต่างกับสิวปกติยังไง อาจจะแยกคร่าวๆได้จาก
– ตำแหน่งที่เป็นสิวฮอร์โมนมักเกิดบริเวณส่วนล่างของใบหน้า เช่น แนวกราม คาง ใต้คางหรือเรียกว่า U zone
– สิวฮอร์โมนมักจะมีลักษณะเด่นเป็นสิวอักเสบ เช่น เม็ดใหญ่ๆ เป็นไตๆ มักขึ้นช่วงใกล้จะมีประจำเดือน
– สิวในวัยทำงาน มักพบหลังจากอายุ 25 ปีขึ้นไป, สิวขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน, ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
– ผิวหน้ามันมาก ขนเยอะ เช่น เป็นผู้หญิงแต่มีหนวด เครา เสียงใหญ่ ผมร่วงมากจนผมบาง รูปร่างท้วม/อ้วน เป็นต้น
          ซึ่งอาการพวกนี้ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกข้อก็ได้ ในคนไข้บางคนอาจจะไม่อ้วน หรือผมไม่ได้บาง ก็พบว่ามีภาวะถุงน้ำรังไข่จำนวนมากได้ (PCOS) ซึ่งเป็นสาเหตุของสิวฮอร์โมนได้เหมือนกัน

สาเหตุของสิวฮอร์โมนเกิดจากอะไรบ้าง สิวฮอร์โมน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชาย คือ มีภาวะฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป (Androgen excess) ทำให้เด็กผู้หญิงบางคนเริ่มเป็นสิวตั้งแต่ช่วงก่อนวัยรุ่น

คนไข้ที่เป็นโรคถุงน้ำรังไข่จำนวนมาก (Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS) ซึ่งฮอร์โมนแอนโดรเจนจะมีผลกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานหนักขึ้น จึงผลิตและขับน้ำมัน (sebum) ออกมามากขึ้น ทำให้หน้ามัน และรูขุมขนอุดตัน เกิดเป็นสิวอุดตันได้ (comedone) และน้ำมันยังเป็นอาการของเชื้อสิว (C. acnes ชื่อใหม่ หรือ ชื่อเก่า คือ P. acnes) ที่เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูขุมขน พอเชื้อสิวเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะทำให้สิวอุดตันกลายเป็นสิวอักเสบในที่สุด

เมื่อไหร่ถึงจะสงสัยว่าเป็นสิวฮอร์โมน?
– สิวอักเสบเม็ดใหญ่ บวมแดง เจ็บ ที่มักขึ้นมาในช่วงที่ใกล้จะมีประจำเดือน
– สิวที่ชอบขึ้นบริเวณ คาง รอบปาก กรอบหน้า ตามแนวกราม/ขากรรไกร
– เป็นสิวหลังจากอายุ 25 ปี เรียกว่า ช่วงในวัยผู้ใหญ่ (Adult onset acne)
– สิวอุดตันในคนที่มีผิวหน้ามันมาก (comedonal acne with seborrhea)
– สิวที่รักษาด้วยวิธีปกติไม่ได้ผล (resistant to conventional therapies)
– สิวในคนที่มีลักษณะที่น่าสงสัยว่าอาจมีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ

ในกรณีเคสลูกค้าที่รักษาสิวมาอย่างยาวนาน หลายหลายวิธีไม่หายสักที แล้วทางเราสงสัยว่าอาจมีภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน ทางแบรนด์จะแนะนำให้ไปตรวจปรึกษากับสูตินารีแพทย์เพื่อทำการ Ultrasound ตรวจวินิจฉัยโรค PCOS

สิวฮอร์โมนรักษายังไง?
– ในเคสที่ไม่ยาก ใช้การรักษาแบบสิวทั่วไปได้ เช่น ให้ยาทา, ยากิน
– ในเคสรักษาแบบสิวทั่วไปแล้วไม่ได้ผล หรือตรวจเจอว่ามี PCOS ด้วย จะพิจารณารักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ควรหาซื้อมาใช้เอง จำเป็นต้องมีแพทย์คอยดูแลเรื่องการใช้ยาอย่างใกล้ชิด เพราะตัวยามีผลข้างเคียงและข้อห้ามใช้อยู่หลายอย่าง
– เคสที่รักษาด้วยวิธีกินยา ทายามาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังมีปัญหาอื่นๆ เช่น สิวอุดตันยังเยอะมาก, สิวหายช้า, สิวหายแล้วแต่ยังทิ้งรอยเอาไว้, มีแผลหลุมสิว ผิวขรุขระ รูขุมขนกว้าง หรือ มีขนแก้ม หนวด เครา อาจจะเสริมการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ (Optional treatment) เช่น กดสิว ฉีดสิว ทำเลเซอร์ ใช้กรดผลไม้ช่วยผลัดเซลล์ผิวเพิ่มเติม

จะลองกินยาคุมเพื่อรักษาสิวดีมั้ย?
– การกินยาคุมบางชนิด สามารถช่วยให้ ‘สิวฮอร์โมน’ ดีขึ้นได้ แต่ต้องกินยาต่อเนื่องนานหลายเดือน ถึงจะเริ่มเห็นผลว่าสิวน้อยลง
ยังไม่แนะนำให้กินยาคุมเพื่อรักษาสิวด้วยตัวเอง เพราะยาก็มีผลข้างเคียงและมีเรื่องที่ต้องระวังหลายอย่าง

คนที่ห้ามกินยาคุม เช่น กำลังตั้งครรภ์, มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน (Thromboembolic), เป็นโรคตับ, อายุมากกว่า 35 ปี, สูบบุหรี่จัด คนที่ไม่ควรกินยาคุม เช่น คุณแม่ที่ให้นม, เป็นโรคความดันสูง, ไมเกรน, เป็นมะเร็ง
ยาคุมกำเนิด อาจจะมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยๆ เช่น ปวดหัว, ประจำเดือนผิดปกติ, น้ำหนักขึ้น, บวมน้ำ

สนใจปรึกษาปัญหาสิว สามารถทักเข้ามาปรึกษากับแพทย์ได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยนะครับ